เมนู

พระวินัยปิฎก ภิกขุนีวิภังค์ [3. นิสสัคคิยกัณฑ์] 1. ปัตตวรรค สิกขาบทที่ 1 สิกขาบทวิภังค์
การสะสมบาตรเล่า ภิกษุทั้งหลาย การกระทำอย่างนี้ มิได้ทำคนที่ยังไม่เลื่อมใสให้
เลื่อมใส หรือทำคนที่เลื่อมใสอยู่แล้วให้เลื่อมใสยิ่งขึ้นได้เลย ฯลฯ” แล้วจึงรับสั่งให้
ภิกษุณีทั้งหลายยกสิกขาบทนี้ขึ้นแสดงดังนี้

พระบัญญัติ
[734] ก็ภิกษุณีใดทำการสะสมบาตร ต้องอาบัตินิสสัคคิยปาจิตตีย์1
เรื่องภิกษุณีฉัพพัคคีย์ จบ

สิกขาบทวิภังค์
[735] คำว่า ก็ ... ใด คือ ผู้ใด ผู้เช่นใด ฯลฯ นี้ที่พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ก็ ... ใด
คำว่า ภิกษุณี มีอธิบายว่า ชื่อว่าภิกษุณี เพราะเป็นผู้ขอ ฯลฯ นี้ที่พระผู้มี
พระภาคทรงประสงค์เอาว่า ภิกษุณี ในความหมายนี้
ที่ชื่อว่า บาตร ได้แก่ บาตร 2 ชนิด คือ (1) บาตรเหล็ก (2) บาตรดินเผา
บาตรมี 3 ขนาด คือ (1) บาตรขนาดใหญ่ (2) บาตรขนาดกลาง (3) บาตร
ขนาดเล็ก
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดใหญ่ จุข้าวสุกจากข้าวสาร 2 ทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่2 จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดกลาง จุข้าวสุกจากข้าวสาร 1 ทะนาน จุของเคี้ยว
เศษหนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น
ที่ชื่อว่า บาตรขนาดเล็ก จุข้าวสุกจากข้าวสาร ครึ่งทะนาน จุของเคี้ยวเศษ
หนึ่งส่วนสี่ จุกับข้าวพอสมควรแก่ข้าวสุกนั้น

เชิงอรรถ :
1 บาตรเป็นนิสสัคคีย์ คือเป็นของที่ต้องสละให้ผู้อื่น ภิกษุณีผู้สะสมบาตร ต้องอาบัติปาจิตตีย์
2 คือเศษหนึ่งส่วนสี่ของข้าวสุก (วิ.อ. 2/602/215)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 3 หน้า :78 }